วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555









มะขามสดอ่อนขูดผิว 1 ถ้วยตวง (30 ฝัก) 120
พริกขี้หนูเด็ดก้านบุบพอแตก 22 เม็ด 4
กระเทียมปอกเปลือกหั่นหยาบ 3 ช้อนโต๊ะ 36
กะปิ (เผาไฟ) 2 1/2 ช้อนโต๊ะ 35
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ 34
กุ้งแห้งป่น 4 ช้อนโต๊ะ 12
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ 15.5
น้ำตาลปี๊ป 1/3 ถ้วยตวง 57

ผักสด

แตงกวา8 ลูก (88 ชิ้น) 350
 (ขนาด Ø 3 หนา - 0.6 เซนติเมตร
ถั่วฝักยาว 88 ชิ้น 120
ขนาดยาว 4 เซนติเมตร)
ขมิ้นขาว 77 ชิ้น 150
 (ขนาดกว้าง 2.5 ยาว 3.2 เซนติเมตร)
ถั่วพูอ่อน 24 ฝัก (77 ชิ้น) 130
 (ขนาดกว้าง 2.2 ยาว - 3.2 เซนติเมตร)
สายบัว 77 ชิ้น 170
 (ขนาดยาว 3.5 เซนติเมตร)


 

นำมะขามสดมาขูดเปลือก ล้างน้ำ พักไว้ แล้วนำมาโขลก ตักใส่ภาชนะแยกไว้
 นำกะปิ กระเทียม โขลกให้ละเอียด ใส่พริกขี้หนู มะขามที่โขลกแล้ว กุ้งแห้งป่น มาโขลกให้เข้ากัน
 ใส่น้ำมันในกะทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟอ่อนๆ ใส่น้ำพริกที่โขลกสำเร็จผัดให้หอม ใส่หมูสับผัดจนสุก ใส่น้ำตาลปี๊ป น้ำปลา ผัดให้ทั่วจนน้ำพริกแห้ง (ใช้เวลาในการผัด 10 นาที)
 ตักใส่ถ้วย รับประทานกับผักสด และเครื่องแนม

รสชาติ

 เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด

ผักที่นิยมรับประทาน

 แตงกวา ถั่วฝักยาว ขมิ้นขาว ถั่วพูอ่อน สายบัว

เครื่องแนม

 ปลาทูทอด ปลาสลิดทอด ปลาเค็มทอด ปลาช่อนแห้งทอด เนื้อเค็มทอด

หมายเหตุ

 มะขามสดควรเป็นมะขามฝักอ่อนๆ ที่ยังไม่มีเมล็ด เมื่อนำมาโขลกเป็นน้ำพริกเนื้อมะขามจะอ่อนนุ่ม ไม่เป็นกากแข็ง
 น้ำพริกมะขามสดผัด (่ใส่หมู) สามารถเก็บได้นาน
 กะปิควรนำไปห่อใบตองเผาไฟให้หอมก่อนนำมาโขลกกับกระเทียม และส่วนผสมอื่นๆ

ประวัติความเป็นมาของพริก

 

คนไทยรู้จักปลูกพริก และมีวิธีบริโภคพริกหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะสด แห้ง ดอง เผา และแกง และมักแบ่งพริกออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เผ็ดมาก ซึ่งได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไทย และพริกเหลือง กับกลุ่มที่เผ็ดน้อย ซึ่งได้แก่ พริกหยวก พริกชี้ฟ้า และพริกฝรั่ง
ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับพริกดีเสียจนทำให้คิดไปว่า พริกเป็นพืชพื้นเมือง แต่นักประวัติพฤกษศาสตร์ได้พบว่า ถิ่นกำเนิดของพริกคือ ทวีปอเมริกากลาง และใต้ และจากที่นั่นนักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรปแล้วจากยุโรปพริกก็ถูกนำไปปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก
หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า ชาวอินเดียนใน Mexico รู้จักบริโภคพริกเป็นอาหารมานานร่วม 9,000 ปีแล้ว เพราะอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งที่พบที่เมือง Huaca Prieta มีซากเมล็ดพริกที่มีอายุประมาณ 9,000 ปี การศึกษาวิถีชีวิตของชนเผ่า Olmec, Toltec และ Aztec ต่างก็แสดงให้รู้ว่า ชาวอินเดียนเหล่านี้รู้จักปลูกและบริโภคพริกเช่นกัน นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังได้ขุดพบซากของต้นพริกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ในเทวสถานของเปรูด้วย หรือแม้แต่ลายปักเสื้อผ้าของคนอินเดียนที่อาศัยอยู่ในเปรู เมื่อ 1,900 ปีก่อน ก็มีลวดลายปักเป็นต้นพริก
ในปี 2036 นักประวัติศาสตร์ชื่อ Peter Martyr ได้รายงานว่า พริกแดงที่ Columbus นำมาจากอเมริกามีรสเผ็ด และแพทย์ที่ติดตาม Columbus ไปอเมริกาเป็นครั้งที่สองในปี 2037 ก็ได้กล่าวถึงชาวอินเดียนว่า นิยมปรุงอาหารด้วยพริก และเมื่อกองทัพสเปนบุกอาณาจักร Aztec นายพล Cortez ได้เขียนจดหมายเล่าว่า กษัตริย์ Aztec ทรงโปรดเสวยพระสุคนธรสที่มีพริกปน
คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริกคือ มีรสเผ็ด และการมีคุณสมบัติที่ดุเดือดรุนแรงนี้เองที่ทำให้ชาวอินเดียนนิยมใช้พริกทรมานเชลยหรือศัตรู เช่น เผาพริกปริมาณมากให้ควันพริกขับไล่ทหารสเปน ส่วนชาว Maya ก็มีประเพณีว่า ผู้หญิง Maya คนใดเวลาถูกจับได้ว่าแอบดูผู้ชาย จะถูกพริกขยี้ที่ตา และบิดามารดาของผู้หญิง Maya คนใดถ้ารู้ว่า บุตรสาวของตนเสียพรหมจรรย์อย่างผิดประเพณี "บริเวณลับ" ของเธอจะถูกละเลงด้วยพริก สำหรับชาวอินเดียนเผ่า Carib ใน Antilles นั้น ก็นิยมใช้พริกทาบาดแผลของเด็กผู้ชายเพื่อฝึกให้อดทน และเวลาจับเชลยได้ ชาวอินเดียนเผ่านี้ก็จะใช้ไฟจี้ตามตัวจนเป็นแผลพุพองแล้วเอาพริกทา และเมื่อเชลยเสียชีวิตลงเนื้อของเชลยก็จะถูกแล่เอาไปปรุงด้วยพริกเป็นอาหาร เป็นต้น
นักประวัติศาสตร์ชื่อ Francisco Hernandez ซึ่งเป็นแพทย์ในกษัตริย์ Philip ที่ 2 แห่งสเปน และได้เคยถูกส่งตัวไปศึกษาธรรมชาติของพืชและสัตว์ในดินแดนใหม่ (อเมริกา) ก็ได้รายงานกลับมาว่า ชาวอินเดียนนิยมปลูกพริกมาก ส่วน P. Bernabe Cobo ผู้ใช้เวลาสำรวจอเมริกานาน 50 ปี ในศตวรรษที่ 20-21 ก็ได้รายงานทำนองเดียวกันว่า ชาวอินเดียนในเม็กซิโกนิยมปลูกพริก โดยได้เขียนลงในหนังสือ Historia ว่า ชาวอินเดียนถือว่าพริกเป็นพืชที่สำคัญรองจากข้าวโพด เพราะชอบบริโภคพริกสด และใช้พริกในพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าทุกงาน แต่เมื่อถึงเทศกาลอดอาหาร คนอินเดียนเหล่านี้จะไม่บริโภคอาหารที่มีพริกปนเลย Cobo ยังกล่าวเสริมว่า ไม่เพียงแต่ผลพริกเท่านั้นที่เป็นอาหาร แม้แต่ใบพริกก็ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย และสำหรับ Garcilaso de la Vega ผู้เป็นบุตรของขุนนางสเปนนั้น ก็ได้เล่าว่า ชาวอินคาถือว่าพริกเป็นผลไม้ที่มีคุณค่ามาก เพราะอาหารอินคาจะมีพริกปนไม่มากก็น้อย นอกจากนี้หมอชาวบ้านของชนเผ่านี้ก็มีความรู้อีกว่า ใครก็ตามที่บริโภคพริกในปริมาณที่พอดี ระบบขับถ่ายของคนคนนั้นจะทำงานปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป กระเพาะจะเป็นอันตราย Alexander von Humboldt นักปราชญ์ชาวเยอรมันก็เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาเป็นเวลานานหลายปี และได้เปรียบเทียบความสำคัญของพริกว่าคนยุโรปถือว่า เกลือมีความสำคัญต่อชีวิตเพียงใด คนอินเดียนก็ถือว่าพริกมีความสำคัญต่อเขาเพียงนั้น
การศึกษาประวัติการเดินทางของพริกจากทวีปอเมริกาสู่โลกภายนอก ทำให้เรารู้ว่า Alvarez Chanca ชาวสเปนเป็นบุคคลแรกที่นำพริกสู่ประเทศตน ในปี 2036 และคนสเปนเรียกพริกว่า Chili ซึ่งเป็นคำที่แปลงมาจากคำ Chile อันเป็นชื่อของประเทศที่ให้กำเนิดพริกในอเมริกาใต้ และอีก 55 ปีต่อมา ชาวอังกฤษก็เริ่มรู้จักพริก เมื่อถึงปี 2098 บรรดาประเทศต่างๆ ในยุโรปกลางก็เริ่มรู้จักปลูกพริกกันแล้ว และเมื่อถึงปี 2300 พ่อค้าชาวโปรตุเกสก็ได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดีย และเอเชียอาคเนย์
นักชีววิทยาจัดพริกอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของมะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ และให้พริกอยู่ในสกุล Capsicum ซึ่งมาจากคำว่า Kapto ที่แปลว่า กัดกร่อน แต่นักภาษาศาสตร์บางคนคิดว่า รากศัพท์ที่แท้จริงของคำคำนี้คือ capsa ซึ่งแปลว่า กล่อง ถึงความคิดเห็นเรื่องที่มาของชื่อจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยอมรับในประเด็นเดียวกันว่า พริกมีรสเผ็ด แม้แต่ชาว Maya ก็เรียกพริกว่า Huuyub ซึ่งแปลว่า สูดปาก หลังจากที่ได้กินพริกเข้าไป การศึกษาคุณสมบัติด้านเภสัชวิทยาของพริก ทำให้เรารู้ว่าแพทย์ในอดีตเคยใช้พริกเป็นยารักษานานาโรค เช่น โรคบวม เสียดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อหิวาต์ อาหารไม่ย่อย ปวดหัว ปวดประสาท ปวดตามข้อ ท้องร่วง กระเพาะอักเสบ แก้เมาคลื่น โรคหวัด ลดน้ำมูก ป้องกันการติดเชื้อ ลดอาการไขมันอุดตันของเส้นเลือด ลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง บรรเทาอาการปวด ทำให้มีอารมณ์ดี และใช้เป็นยาไล่แมลงก็ยังได้ด้วย
ส่วนนักโภชนาการได้พบว่า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู และพริกหวานต่างก็มีวิตามิน C เช่น ในเนื้อพริก 100 กรัม จะมีวิตามิน C ตั้งแต่ 87-90 มิลลิกรัม และมี betacarotene (หรือวิตามิน A) ซึ่งช่วยให้สายตาดีด้วย
นักชีวเคมีได้วิเคราะห์พบว่า รสเผ็ดของพริกเกิดจากสาร capsicin ที่แฝงอยู่ในบริเวณรก (placenta) ของผล แต่ไม่อยู่ในเนื้อและเปลือกพริก การวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของ capsicin ทำให้รู้ว่ามันมีชื่อ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide ซึ่งมีสูตร C18 H23 NO3 มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46 มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี นอกจากนี้มันยังมีสมบัติทนความร้อน ความเย็นได้ดีด้วย ดังนั้น การต้มหรือการแช่แข็งจะไม่ทำให้พริกเผ็ดน้อยลงหรือมากขึ้นแต่อย่างใด และถ้าต้องการจะแก้รสเผ็ด ผู้สันทัดกรณีแนะนำว่า น้ำหรือเบียร์ก็พอช่วยได้บ้าง แต่ถ้าจะให้ดีให้กินอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มี ethonol มาก ก็จะช่วยได้ดีขึ้น และถ้าพริกมีรสขม นั่นก็เพราะคนกินได้เคี้ยวเมล็ดพริกครับ
มะขาม
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica  L.
ชื่อสามัญ  Tamarind, Indian date
วงศ์  Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่งโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ : 
ราก เปลือก ทั้งต้น แก่น ใบ เนื้อในฝัก ฝักดิบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ดอกสด
สรรพคุณ :
  • รากแก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
  • เปลือกต้น - แก้ไข้ ตัวร้อน
  • แก่น - กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
  • ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) - เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว  ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น
  • เนื้อหุ้มเมล็ด - แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง
  • ฝักดิบ - ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
  • เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย
  • เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน
  • นื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  1.  เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดีใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด
  2. เป็นยาระบาย ยาถ่าย- ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ
    - เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก
  3. แก้ท้องร่วง-เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน
    -เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน
  4. รักษาแผลเมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้
  5. แก้ไอและขับเสมหะใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร
  6. เป็นยาลดความดันสูงใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน
สารเคมี :
  • ใบ  มี  Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid
  • ดอก  มี  a - Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid
  • ผล มี  Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.
  • เมล็ด  มี  Phosphatidylcholine, Proteins Glutelin, Albumin, Prolamine, Lectin
  

โครงงานน้ำพริกมะขามอ่อน

                                                 โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
                    และการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนสูง  จังหวัด นครราชสีมา
                                                      
                                                        โครงงาน น้ำพริกมะขามอ่อน
                                                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/2 กลุ่มที่7/44
                                                       ภาคเรียนที่1  ปีการศึกษา2555
                                                 
                                                                                     กลุ่มผู้ศึกษา
                                                           นาย เกียรติศักดิ์    วีรชัยรัตนา  เลขที่ 1   .4/2
                                                          นาย ธีรวัฒน์     แดนมะตาม  เลขที่14    .4/2
                                                           นาย ศักดิธัช    ชินราช  เลขที่17    .4/2
                                                            นางสาว วิราสินี  คลั่งแก้ว  เลขที่18  .4/2
                                                             นางสาว สุทธิดา   ปลั่งกลาง  เลขที่19   .4/2
                                                             นางสาว สุรีรัตน์   ลอยดารา เลขที่20   .4/2
                                                             นางสาว จารุวรรณ  แปลงกลาง เลขที่21  .4/2
                                                             นางสาว จินดาพร  ดีกลาง เลขที่22   .4/2
                                                             นางสาว ธัญสินี  ญาติโพธิ์ เลขที่ 23  .4/2
                                                             นางสาว อรุณรุ่ง   ทั่งกลาง เลขที่24  .4/2
                                                              นางสาว กนกวรรณ   บุตรกลาง เลขที่54   .4/2